เอื้องดิน

กล้วยไม้ดิน/ว่านจุก ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathoglottis plicata Blume วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีหัวรูปไข่หรือรูปรีแกมรูปไข่อยู่ใต้ดิน มีแนวข้อปล้องชัดเจน ส่วนบนมีโคนกาบใบหุ้ม ใบ: เป็นแถบ ยาวได้ถึง 1 เมตรหรือมากกว่า แผ่นใบบาง แข็ง ปลายแหลม โคนเรียวเล็กน้อย ดอก: ออกที่ปลายช่อ ตั้งตรง กลีบดอกสีชมพูถึงสีม่วงเข้ม  กลีบปากเล็กและสั้น สีเข้มกว่ากลีบอื่นๆ กลางกลีบปากคอดกิ่ว ปลายแผ่เป็นแผ่นกว้าง ออกดอกตลอดปี ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ออกดอกดกช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ต้นจะสร้างหัวใหม่ขยายกอออกไปเรื่อยๆ ปลูกเลี้ยงง่าย

เหลืองพิศมร

เหลืองศรีสะเกษ/เอื้องหัวข้าวเหนียว ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathoglottis affinis de Vriese ชื่อพ้อง :  Spathoglottis Lobbii  Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีหัวใต้ดิน รูปร่างไม่แน่นอน ผิวเรียบมีเยื่อบางใสคลุม ใบ: เป็นแถบ ปลายแหลม แผ่นใบบาง   ดอก: ออกเป็นช่อโปร่ง 5-8 ดอก ช่อดอกยาว 20-40 เซนติเมตร ออกค่อนไปทางปลายช่อ  กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกัน กางผายออกเกือบเป็นระนาบเดียวกัน สีเหลือง อาจมีขีดสีม่วงที่โคน ช่วงกลางกลีบปากคอดกิ่ว ปลายกว้างและหยักเว้า โคนมีหูปากพับตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีเหลืองมีขีดสีม่วงหนาแน่น ออกดอกเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: พักหัวในหน้าแล้ง  แตกใบในหน้าฝน

เอื้องใบพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nervilia plicata (Andr.) Schltr. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีหัวอยู่ใต้ดิน แตกไหลสร้างหัวใหม่ แต่ละหัวมี 1 ใบ ใบ: คล้ายใบพลูหรือเกือบกลม ก้านใบสั้น ใบเกือบติดดิน แผ่นใบและขอบใบมีขนละเอียด ดอก: ออกเป็นช่อตั้ง ยาว 10-15 เซนติเมตร หนึ่งช่อมักมี 2 ดอก กลีบดอกเรียวยาว สีเขียวอมน้ำตาล กลีบปากม้วนเป็นหลอด สีม่วงอ่อน มีแถบสีเหลืองตามยาวกลีบที่กลางดอก ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกไหลหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติบางครั้งก็พบขึ้นตามพื้นดินในที่ร่มตามป่าดิบ

เหยือกน้ำดอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthephippium striatum  Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นหัว ใบ: รูปขอบขนาน แผ่นใบหนาอวบและแข็ง   ดอก: ออกเป็นกระจุกจากโคนหัว ดอกสีขาว โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเปิดออก ทำให้ดอกเป็นถุง กลีคบปากเล็ก สีเหลือง ทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก  ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้หายาก

อั้วนวลจันทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Calanthe vestita Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: เป็นหัวรูปรี ขอบเป็นสันมน สีเขียวอมเทา ใบ: คล้ายเอื้องชมพูไพร ทิ้งใบก่อนออกดอก ดอก: ออกเป็นช่อตั้ง ช่อดอกค่อนข้างแน่น ยาว15-30 เซนติเมตร ปลายโค้งลง ดอกมักออกค่อนไปทางปลายช่อ กลีบดอกสีขาว กลีบปากเว้า 3 แฉก กลางกลีบปากมีสีเหลือง ขนาดดอก 2 x 4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวน หรือมุมบ้าน

อั้วพวงมณี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Calanthe rubens Ridl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: เป็นหัวรูปกลมรี เป็นสันตามยาว สีเขียวอมเทา ใบ: คล้ายเอื้องชมพูไพร ทิ้งใบก่อนออกดอก ดอก: ช่อดอกยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร ก้านช่อผอมยาว ปลายโค้งเล็กน้อย กลีบดอกสีชมพู กลีบปากเว้าตื้น 3 แฉก กลางกลีบปากมีสีชมพูเข้มอมม่วง ขนาดดอก 2 x 3 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวน หรือมุมบ้าน

เอื้องพร้าว

ฉัตรพระอินทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Phaius tankervilleae (Banks) Blume วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำต้น: ลำต้นเป็นหัวรูปไข่ขนาดใหญ่ ใบ: ใบพับจีบรูปรีถึงรูปใบหอก กว้าง 12 – 15 เซนติเมตร ยาว 12 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ดอก: ช่อดอกออกจากโคนลำต้น ช่อยาวกว่า 2 เมตร ดอกขนาด 6 – 7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลอมม่วง กลีบปากกว้างรูปรี ออกดอกเดือนกันยายน – ตุลาคม ดิน: .ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอ ปักชำ หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวน หรือมุมบ้าน […]

รองเท้านารีเหลืองตรัง

เอื้องฝาหอย/Mrs. Godefroy’s Paphiopedilum ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum godefroyae (Godef. – Leb.) Stein วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบ: ใบแถบแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นลายหินอ่อนสีเขียวเข้มสลับเขียวเทา ใต้ใบมีจุดประสีม่วงแดงหนาแน่น ดอก: ดอกเดี่ยว 1 ช่อมี 1 – 3 ดอก ก้านช่อดอกสีม่วงแดง มีขนสีขาวปกคลุม ยาว 10 – 12 เซนติเมตร ดอกค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 8 เซนติเมตร หลังคา กลีบดอก และกระเป๋าสีเหลืองนวลมีแต้มสีม่วงแดงกระจายทั่วดอก โล่รูปไต สีขาว […]

รองเท้านารีเหลืองกระบี่

Excluded Paphiopedilum ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum exul (Ridl.) Rolfe วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบ: ใบเป็นรูปแถบ กว้าง 3 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 13 – 15 เซนติเมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน โคนกาบใบมีจุดสีม่วง ดอก: ดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 13 – 20 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม ดอกมีขนาด 6 – 7 เซนติเมตร กลีบเป็นมันงุ้มมาด้านหน้า หลังคาสีขาว จากโคนกลีบถึงกึ่งกลางสีเหลืองอมเขียวเรื่อและมีแต้มสีน้ำตาลแดง โล่สีเหลือง ออกดอกเดือนมีนาคม – มิถุนายน ดิน: .ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอ […]

รองเท้านารีเหลืองปราจีน

One Colored Paphiopedilum ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum concolor (Lindl. ex Bateman) Pfitzer วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบ: ใบเป็นรูปขอบขนาน แผ่นใบเป็นตารางสีเขียวเข้มสลับเทา ดอก: ดอกเดี่ยว 1 ช่อมี 2 – 3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 12 – 15 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อน มีขนปกคลุม ดอกบานค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 9 เซนติเมตร กลีบดอกหนาและงุ้มมาด้านหน้า หลังคา กลีบดอก กระเป๋า และโล่มีสีเหลืองและจุดประสีน้ำตาลกระจายทั่ว โล่รูปหัวใจ มีหลายพันธุ์ เช่น รองเท้านารีเหลืองกาญจน์ รองเท้านารีเหลืองอุดร และรองเท้านารี เหลืองปราจีนเผือก ออกดอกตลอดปี ดิน: .ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: […]

รองเท้านารีคางกบ

รองเท้านารีแมลงภู่/เอื้องคางกบ/เอื้องคางคก/Callus Paphiopedilum ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum callosum (Rchb.f.) Stein var. callosum วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบ: ใบเป็นรูปรีรูปขอบขนาน กว้าง 3 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 15 – 20 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นลายคล้ายตารางสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน โคนใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ดอก: ดอกเดี่ยว มี 1 – 2 ดอกต่อต้น ก้านดอกสีม่วงเข้ม ยาว 25 – 30 เซนติเมตร มีขนปกคลุม ดอกขนาด 6 – 8 เซนติเมตร หลังคาสีขาว บริเวณโคนจนถึงกลางหลังคามีริ้วสีเขียว ปลายริ้วมีสีแดงอมม่วง บิดไปด้านหลังเล็กน้อย กลีบดอกกางเป็นมุม 45 อาศา ปลายกลีบบิดและลู่ไปทางด้านหลังเล็กน้อย […]

รองเท้านารีคางกบคอแดง

Appleton’s Paphiopedilum ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum appletonianum (Gower) Rolfe วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบ: ใบรูปรีรูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 4 เซนติเมตร ยาว 7 – 23 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นลายหินอ่อนสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน โคนใบสีม่วงเรื่อ ขอบใบงุ้มลง ดอก: ดอกเดี่ยว ก้านดอกสีม่วงยาว 25 – 30 เซนติเมตร มีขนปกคลุม ดอกขนาด 5 – 7 เซนติเมตร หลังคาสีเขียวอ่อนงุ้มมาด้านหน้าเล็กน้อย บริเวณโคนมีริ้วสีน้ำตาล กลีบบนมีสีชมพูอ่อน บริเวณกลางกลีบถึงโคนกลีบเป็นสีเขียว ด้านบนหยักเป็นคลื่นและมีจุดไฝสีน้ำตาลแดง กระเป๋ามีสีน้ำตาลเหลือบเขียวอมเหลือง โล่มีสีเขียวตองอ่อน ตรงกลางมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างเว้าเป็นเคียว ออกดอกเดือนมกราคม – มีนาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง […]

ว่านยานกเว้

ชื่อวิทยาศาสตร์: Habenaria carnea Weathers วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำต้น: มีหัวสะสมอาหารใต้ดิน ต้นเหนือดินสั้น ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกเวียนรอบต้น มี 3 – 6 ใบ กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 6 – 12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบบางและบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวอมเทา มีจุดประสีขาวกระจายทั่ว ดอก: ช่อดอกออกที่ยอดชูตั้ง สูง 15 – 20 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 5 – 10 ดอก ดอกกว้าง 1.5 – 2 เซนติเมตร ยาว 2 – 3 […]

หญ้าจิ้มฟันควาย

แขมดอกขาว/แขมเหลือง/น้ำทราย/ม้วนตักหงาย/ยี่โถปีนัง/เอื้องใบไผ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundina graminifolia (D.Don) Hochr. subsp. graminifolia วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำต้น: เป็นกอแน่นดูคล้ายหญ้า สูง 0.50 – 1.50 เมตร ใบ: ใบรูปแถบ ออกเวียนสลับรอบต้น กว้าง 1.2 – 2 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ปลายใบเรียวแหลม ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายยอดชูตั้งสูง 30 – 50 เซนติเมตร ทยอยบานทีละดอก ดอกขนาด 2 – 6 เซนติเมตร กลีบดอกและกลีบเลี้ยงสีขาวอมชมพูถึงชมพู กลีบปากแผ่ออก ปลายกลีบย่นเป็นคลื่นสีชมพูเข้ม ด้านในมีสีเหลืองเข้ม ออกดอกเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ ดิน: […]

ว่านน้ำทอง

ผักเบี้ยช้าง ว่านร่อนทอง ว่านนกคุ้ม ชื่อวิทยาศาสตร์: Ludisia discolor (Ker Gawl.) A.Rich. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ขึ้นตามก้อนหิน ลำต้น: ทุกส่วนอวบน้ำ ทอดเลื้อย ปลายตั้งตรง สูง 10-15 เซนติเมตร ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปใบหอก สีน้ำตาลแดง มีเส้นใบหลักสีขาวทอดขนานกับใบ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจะ ออกที่ปลายลำต้น ดอกสีขาวนวล ดิน: อิฐมอญทุบผสมดินใบก้ามปู น้ำ: ปานกลาง ในฤดูหนาวควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันหัวเน่า แสงแดด: รำไรถึงครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ : สามารถใช้คุ้มกันภัยอันตรายได้เหมือนว่านนกคุ้ม เป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงระบบเลือด แก้หอบหืด โรคปอด แก้ไอ แก้ท้องอืดเฟ้อ โรคริดสีดวงทวาร โรคกระเพาะอาหาร โรคเกี่ยวกับเส้นประสาท ปวดข้อกระดูก ว่านชนิดนี้บางถิ่นเรียก “ว่านนกคุ้ม”

ว่านช้างผสมโขลง

 หมูกลิ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Eulophia andamanensis Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ความสูง: 30 – 40 เซนติเมตร ลำต้น: ใต้ดินเป็นหัวรูปรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ใบ: เดี่ยว เรียงสลับรูปแถบแคบ กว้าง 1.5 – 2 เซนติเมตร ยาว 15 – 30 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกจากหัว ยาว 20 – 30 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเขียวอ่อน ดิน: อิฐมอญทุบผสมดินใบก้ามปู น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกในกระถางดินเผา ♦ ช่วงฤดูหนาวมักทิ้งใบจนปลายฤดูร้อนจึงผลิดอกและเติบโตอีกครั้ง ♦ เป็นว่านทางเสน่ห์มหานิยม […]

ว่านจูงนาง

กำปองดิน/ว่านถอนพิษ/อึ่งเปราะ ชื่อวิทยาศาสตร์: Geodorum recurvum (Roxb.) Alston วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ความสูง: ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้น: ใต้ดิน เป็นหัวรูปกลมแป้นเรียงต่อกันเป็นแถว เห็นข้อปล้องชัดเจน รากออกตามข้อ ใบ: เดี่ยว รูปใบหอก แผ่นใบพับจีบ เนื้อใบหนา ดอก: ช่อดอกออกจากเหง้า เกิดก่อนหรือพร้อมกับผลิใบ ช่อยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกสีขาวกลีบปากสีเหลือง โคนสีน้ำตาลแดง ดิน: อิฐมอญทุบผสมดินใบก้ามปู น้ำ: ปานกลาง พักตัวในฤดูหนาว แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ :  เป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม หากนำดอกหรือต้นมาแช่น้ำมันจันทน์ หรือบดผสมสีผึ้ง แล้วเสกคาถา จะให้ผลวิเศษยิ่ง