โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล

นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ   “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]

ปริ่มสุขในพื้นที่จำกัด

  บ้านที่ดีควรเป็นบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ บ้านหลังนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบให้สัมพันธ์กับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย เบื้องหลังประตูตะแกรงเหล็กสีดำคือบ้านสไตล์โมเดิร์นของ คุณเอ – จิรสีห์ และ คุณสุพินดา เตชาชาญ ซึ่งสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทำให้บ้านดูใหญ่และโอ่โถง ทั้งที่ขนาดที่ดินไม่ได้ใหญ่มาก เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านเราสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเข้ามาตลอดเวลา “เดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นสนามหญ้าของบ้านคุณแม่คุณเอ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางวา และคุณเอต้องการใช้เป็นเรือนหอครับ” คุณรักศักดิ์ สุคนธะตามร์ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และยังเป็นเพื่อนสนิทของคุณเอด้วย เกริ่นนำให้เราฟัง “โจทย์แรกที่ผมได้รับก็คือคุณเอเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่อับๆอยากได้บ้านที่โปร่งโล่ง และต้องการพักผ่อนสบายๆ ในบ้านที่ให้อารมณ์กึ่งๆรีสอร์ต เพราะเป็นคนชอบอยู่บ้าน และต้องมีมุมสำหรับปาร์ตี้สังสรรค์กันทุกเดือน” คุณรักศักดิ์เท้าความถึงวันแรกๆ ของการพูดคุยกับคุณเอ นับจากวันนั้นเขาและทีมงานก็กลับมาทำการบ้าน โดยพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อจำกัดของพื้นที่ จนได้แนวคิดหลักในการออกแบบ “เรามองว่าจะต้องเป็นบ้านที่อยู่สบาย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด” ตัวอาคารใช้โครงสร้างเหล็กกรุกระจกใส ซึ่งตอบโจทย์ความชื่นชอบบ้านสไตล์โมเดิร์นของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ยังทำประตูเชื่อมระหว่างบ้านคุณเอกับบ้านคุณแม่ จุดเด่นที่น่าสนใจของบ้านนี้คือโครงสร้างเหล็กและประตูบานสูงชะลูดบริเวณทางเข้าบ้าน ซึ่งเปิดได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ทำให้เกิดทางระบายอากาศภายในบ้านระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ หลายท่านอาจสงสัยว่าการเลือกใช้กระจกจะเหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเราจริงหรือ คุณรักศักดิ์ให้คำตอบว่า “หากเลือกวางตำแหน่งบ้านในทิศทางที่ถูกต้อง เน้นการรับแสงธรรมชาติเลี่ยงแดดจัด ก็จะทำให้บ้านที่ใช้กระจกได้สัมผัสกับความร่มรื่น ผมและทีมงานจะคำนวณด้วยโปรแกรมทุกครั้งก่อนออกแบบ เพื่อหาทิศทางของกระแสลมที่พัดในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งปี […]

เรื่องพื้น พื้น ที่ควรรู้ไว้

พื้นเป็นส่วนสำคัญของบ้านที่ต้องพิจารณาและวางแผนตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง พื้นบ้านมีหลายแบบด้วยกัน ในที่นี้ขอแยกดังนี้ พื้นบนดิน หมายถึง พื้นที่ติดกับดิน เป็นพื้นที่ถ่ายน้ำหนักลงดิน เช่น พื้นบ้านชั้นล่าง พื้นระเบียงบ้าน โรงรถ พื้นลอย หมายถึง พื้นที่อยู่เหนือดินและถ่ายน้ำหนักลงบนคาน เสา แล้วถ่ายลงดินอีกทอดหนึ่ง เช่น พื้นบ้านชั้นสอง พื้นเฉลียง และพื้นดาดฟ้า ส่วนประกอบของพื้นจึงประกอบด้วย คอนกรีตเสริมเหล็กและไม้ พื้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นพื้นลอย เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้นจากพื้นดิน ซึ่งทำให้ไม้ผุ การทำพื้นไม้ต้องพิจารณาเรื่องการวางแนวคานตามช่วงยาวของเสา วางลงในช่องแคบของเสา และพื้นไม้จะปูทับลงตามแนวคาน หรือปูขวางส่วนขนานของคาน ตง และพื้นนั้นต้องสัมพันธ์กันตลอด เพื่อให้รับน้ำหนักได้ทั่วถึงและถ่ายน้ำหนักไปยังคาน เสา และฐานรากได้อย่างดี การปูพื้นไม้ทำได้ทั้งการเรียงพื้นไม้ติดกัน การปูพื้นแบบเข้าลิ้นด้วยการบังใบ ใช้ลิ้นสอด หรือลิ้นในตัว และการปูเว้นร่อง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับพื้นระเบียงภายนอก ไม้ที่นิยมใช้ทำพื้นก็มีทั้งที่เป็นไม้แท้ เช่น ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้เต็ง ซึ่งแข็งแรงทนทาน พื้นไม้อีกชนิดที่นิยมคือ ปาร์เก้ต์ มีทั้งที่ทำจากไม้มะค่า ไม้แดง ไม้สัก และปาร์เกต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ไม้แอช […]

เรื่องพื้น พื้น ที่ควรรู้ไว้

พื้นเป็นส่วนสำคัญของบ้านที่ต้องพิจารณาและวางแผนตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง พื้นบ้านมีหลายแบบด้วยกัน ในที่นี้ขอแยกดังนี้ พื้นบนดิน หมายถึง พื้นที่ติดกับดิน เป็นพื้นที่ถ่ายน้ำหนักลงดิน เช่น พื้นบ้านชั้นล่าง พื้นระเบียงบ้าน โรงรถ พื้นลอย หมายถึง พื้นที่อยู่เหนือดินและถ่ายน้ำหนักลงบนคาน เสา แล้วถ่ายลงดินอีกทอดหนึ่ง เช่น พื้นบ้านชั้นสอง พื้นเฉลียง และพื้นดาดฟ้า ส่วนประกอบของพื้นจึงประกอบด้วย คอนกรีตเสริมเหล็กและไม้ พื้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นพื้นลอย เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้นจากพื้นดิน ซึ่งทำให้ไม้ผุ การทำพื้นไม้ต้องพิจารณาเรื่องการวางแนวคานตามช่วงยาวของเสา วางลงในช่องแคบของเสา และพื้นไม้จะปูทับลงตามแนวคาน หรือปูขวางส่วนขนานของคาน ตง และพื้นนั้นต้องสัมพันธ์กันตลอด เพื่อให้รับน้ำหนักได้ทั่วถึงและถ่ายน้ำหนักไปยังคาน เสา และฐานรากได้อย่างดี การปูพื้นไม้ทำได้ทั้งการเรียงพื้นไม้ติดกัน การปูพื้นแบบเข้าลิ้นด้วยการบังใบ ใช้ลิ้นสอด หรือลิ้นในตัว และการปูเว้นร่อง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับพื้นระเบียงภายนอก ไม้ที่นิยมใช้ทำพื้นก็มีทั้งที่เป็นไม้แท้ เช่น ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้เต็ง ซึ่งแข็งแรงทนทาน พื้นไม้อีกชนิดที่นิยมคือ ปาร์เก้ต์ มีทั้งที่ทำจากไม้มะค่า ไม้แดง ไม้สัก และปาร์เกต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ไม้แอช […]