เกล็ดนาคราช

กีบม้าลม เบี้ยไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Dischidia imbricata (Blume) Steud. วงศ์: Apocyneceae ประเภท: ไม้เลื้อยขนาดเล็ก ใบ: รูปกลม ขนาดประมาณ 2 – 2.5 เซนติเมตรออกตรงข้ามในระนาบเดียว ปลายใบมน ไม่มีก้านใบ แผ่นใบแนบไปกับกิ่งไม้ใหญ่และนูนขึ้น ใต้ใบมีกลุ่มรากที่แตกจากข้อจำนวนมาก เป็นที่อาศัยของมด ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ ออกจากซอกใบ 5 – 10 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็ก ๆ สีขาวครีม ออกดอกในฤดูฝน อัตราการเจริญเติบโต : เร็ว วัสดุปลูก: โปร่ง ระบายน้ำดี เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับและรากเฟินชายผ้าสีดา น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซีย ชอบอากาศเย็นแต่ปรับตัวให้เข้ากับอากาศร้อนได้ดี

ว่านกีบแรด

 กีบม้าลม/กีบแรด/ว่านกีบม้า/Giant Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Angiopteris evecta (G.Forst.) Hoffm. วงศ์: Marattiaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น บางส่วนอยู่ใต้ดิน เมื่อทิ้งใบ ส่วนหูใบขนาดใหญ่ที่โคนต้นจะดูคล้ายกีบ (ง่ามนิ้ว) สัตว์ ติดอยู่ ใบ: ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ยาว 1 – 1.50 เมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน โคนใบย่อยมน ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวเป็นมัน กลุ่มของอับสปอร์รูปทรงรีเรียงตามขอบใบ ดิน: ดินร่วน ชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสัมพัทธ์สูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกหัวหรือเพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ใบจะเหี่ยวแห้งและตายในที่สุด เป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ชาวชนบทใช้หัวเป็นยาแก้พิษตานซางในเด็ก เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง อาเจียน แต่ควรใช้กับว่านร่อนทอง บางท่านกินเป็นยาแก้ปวดศีรษะ แก้พิษไข้ […]