หูกระจงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia sp. วงศ์: Combretaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: สูง 3 เมตร ทรงพุ่มคล้ายรูปกรวยคว่ำ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นชั้น ใบ: ใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบกิ่ง รูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้าง 1.5- 3 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบแหลม สีเขียวอมเหลือง เส้นใบและกึ่งกลางใบสีม่วงแดง ก้านใบสั้น ดอก: ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก สีขาวนวลหรือขาวอมเหลือง เมืองไทยยังไม่พบออกดอก อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกประดับแปลง เกร็ดน่ารู้:  ชื่อสกุลมาจากภาษาละตินว่า terminus สื่อถึงพุ่มใบที่กระจุกอยู่ปลายกิ่ง บางเว็บไซต์ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia benzoe Pers. แต่เป็นชื่อที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ

ศรีจันทรา

กุหลาบเลื้อยเชียงดาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Rosa helenae Rehd.Wils. วงศ์: Rosaceae ประเภท: ไม้เลื้อย ลำต้น: เลื้อยได้ไกล 4-8 เมตร ลำต้น กิ่งก้านสีน้ำตาลม่วง มีหนามแหลมทั่วไป ใบ: ประกอบขนนก มีใบย่อย 5-9 คู่ ใบรูปแกมใบหอก ปลายแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ ดอก: ออกเป็นช่อเชิงหลั่นหรือออกเดี่ยวที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปใบหอก 5 กลีบ ดอกชั้นเดียวมีกลีบดอกสีขาวนวล 5 กลีบ มื่อใกล้โรยมีจุดสีชมพู มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก ขนาดดอก 3-4 เซนติเมตร กลิ่นหอมหวาน ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ผล: รูปไข่ สีแดงเข้ม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: พบทางภาคเหนือ […]

ส้มเช้า

ยูฟอร์เบียเนอริอายฟอเลีย/Hedge Euphorbia/Oleander Spurge ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia neriifolia L. วงศ์: Euphorbiaceae ประเภท: ไม้พุ่มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ อายุหลายปี ความสูง:  2 – 4 เมตร ลำต้น: เปลือกลำต้นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่เป็นสีขาว แตกกิ่งแขนงบริเวณโคนต้น ลำต้นทรงกระบอก สีเขียวอ่อน มีสันเวียนเป็นเกลียว 5 สัน และมีหนามสั้น ๆ สีดำแหลมคมเวียนเป็นเกลียวบนสัน ใบ: รูปไข่กลับแกมรูปช้อน ออกเวียนบริเวณยอด กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร ยาว 10 – 12 เซนติเมตร ปลายใบกลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก: ออกเป็นช่อระหว่างซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ดิน: ดินเกือบทุกชนิด น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: เต็มวัน […]

โฮย่าใบด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoya sp. วงศ์: Apocyneceae ประเภท: ไม้เลื้อย/โฮย่าขนาดกลาง ใบ: ใบรูปไข่ กว้าง 5 – 7 เซนติเมตร ยาว 8 – 12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน สีเขียวเป็นมัน ขอบใบมีแถบด่างสีขาวขลิบแดง เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอดห้อยลง ดอกคล้ายรูปดาว สีขาวนวล เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มงกุฎสีขาวเป็นมัน เส้าเกสรสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกฤดูฝน อัตราการเจริญเติบโต : เร็ว วัสดุปลูก: โปร่ง ระบายน้ำดี เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับและรากเฟินชายผ้าสีดา น้ำ: ปานกลาง ไม่ชอบแฉะ แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบอากาศเย็น […]

จันทน์ผา

จันทน์แดง/ลักกะจันทน์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen วงศ์: Asparagaceae ประเภท: ไม้ต้นขนาดเล็ก ความสูง: 3 – 7 เมตร ทรงพุ่ม: แตกกิ่งก้านแผ่ขยาย ลำต้น: กลม เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา เมื่ออายุมากขึ้นจะมีรอยแตกเป็นร่องตามยาว ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับถี่ๆที่ปลายกิ่ง ใบรูปแถบแคบยาว ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนทับกัน ดอก: ดอกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ออกตามซอกใบมีดอกจำนวนมาก กลีบดอก 6 กลีบ สีขาวนวล ตรงกลางดอกมีจุดสีแดง มีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนสิงหาคม – กันยายน ผล: ผลสดทรงกลมขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นพวง เมื่อแก่สีแดงคล้ำ มีเมล็ดเดียว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนปนทราย น้ำ: น้อย แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: […]

โฮย่าเคอร์ทิซิอาย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoya curtisii King & Gamble วงศ์: Apocyneceae ประเภท: ไม้เลื้อย/โฮย่าขนาดเล็ก ลำต้น: ห้อยลง ใบ: ใบรูปกลมแกมรูปรี ขนาด 1.5 – 2 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ก้านใบสั้น แผ่นใบสาก สีเขียว มีแต้มสีขาวกระจายทั่วใบ ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอดห้อยลง แต่ละช่อมี 7 – 10 ดอก กลีบดอกงุ้มงอไปทางก้านดอกและมีขนนุ่มปกคลุม เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกสีขาวนวล มงกุฎสีขาว เส้าเกสรสีเหลืองอมแดง ออกดอกฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต : ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง ระบายน้ำดี เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับและรากเฟินชายผ้าสีดา น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ […]

ละมุด

Beef Apple/Chicle tree/Naseberry/Sapodilla Plum ชื่อวิทยาศาสตร์: Manilkara zapota (L.) P.Royen วงศ์: Sapotaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: สูงได้ถึง 30 เมตร ทรงพุ่ม: กลม แน่นทึบ ลำต้น: เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกกิ่งก้านเป็นชั้นรอบลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปรีถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่แกมรูปรี หรือรูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2 – 5.5 เซนติเมตร ยาว 6 – 14.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีสีน้ำตาลอมเขียว ดอก: ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกห้อยลง แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 6 – 7 กลีบ […]

เกล็ดมังกร

กระปอดไม้/เกล็ดไข่/หญ้าเกล็ดลิ่น/Button Orchids ชื่อวิทยาศาสตร์: Dischidia nummularia R.Br. วงศ์: Apocyneceae ประเภท: ไม้เลื้อยขนาดเล็ก ลำต้น: ทุกส่วนมีนวลสีขาวปกคลุม ใบ: ใบรูปกลม ขนาดเล็กเพียง 6 มิลลิเมตร ปลายใบมนมีติ่งแหลมเล็ก ๆ แผ่นใบหนา ปัจจุบันมีพันธุ์ใบด่าง (Dischidia nummularia ‘ Variegata’) ดอก: ช่อดอกขนาดเล็ก ออกจากซอกใบ 2 – 4 ดอก ดอกสีขาวนวลเป็นรูปถ้วย ออกดอกในฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต : เร็ว วัสดุปลูก: โปร่ง ระบายน้ำดี เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับและรากเฟินชายผ้าสีดา น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวันถึงเต็มวัน  ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ปรับตัวให้เข้ากับอากาศร้อนได้ดี ชอบความชื้นในอากาศสูง มีถิ่นกำเนิดใน จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

เกล็ดนาคราช

กีบม้าลม เบี้ยไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Dischidia imbricata (Blume) Steud. วงศ์: Apocyneceae ประเภท: ไม้เลื้อยขนาดเล็ก ใบ: รูปกลม ขนาดประมาณ 2 – 2.5 เซนติเมตรออกตรงข้ามในระนาบเดียว ปลายใบมน ไม่มีก้านใบ แผ่นใบแนบไปกับกิ่งไม้ใหญ่และนูนขึ้น ใต้ใบมีกลุ่มรากที่แตกจากข้อจำนวนมาก เป็นที่อาศัยของมด ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ ออกจากซอกใบ 5 – 10 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็ก ๆ สีขาวครีม ออกดอกในฤดูฝน อัตราการเจริญเติบโต : เร็ว วัสดุปลูก: โปร่ง ระบายน้ำดี เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับและรากเฟินชายผ้าสีดา น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซีย ชอบอากาศเย็นแต่ปรับตัวให้เข้ากับอากาศร้อนได้ดี

โบตั๋น

 ว่านปู่ย่า/Climbing Cactus/Hooker’s Orchid Cactus ชื่อวิทยาศาสตร์: Epiphyllum hookeri Haw. subsp.hookeri วงศ์: Cactaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: แบน ทอดเลื้อย อวบน้ำ มีสีเขียวหรือสีเขียวปนแดงเรื่อขอบหยักมน เมื่อแก่จะแข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านตามรอยหยัก ใบ: ลดรูป ดอก: รูปแตร ยาว 15 – 20 เซนติเมตร กลีบรวมเรียวแหลม สีขาวนวล เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีเหลือง เกสรเพศเมียสีชมพู ออกดอกดกในฤดูฝน บานตั้งแต่ช่วงใกล้ค่ำถึงช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น บานเพียงวันเดียว จากนั้นจะร่วงไป ผล: ค่อนข้างกลม บิดเบี้ยวเล็กน้อย ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร สีชมพูสด ภายในมีเนื้อนุ่มสีขาว มีเมล็ดสีดำกลมเล็ก ๆ จำนวนมาก ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: เต็มวันถึงครึ่งวัน […]

ว่านน้ำทอง

ผักเบี้ยช้าง ว่านร่อนทอง ว่านนกคุ้ม ชื่อวิทยาศาสตร์: Ludisia discolor (Ker Gawl.) A.Rich. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ขึ้นตามก้อนหิน ลำต้น: ทุกส่วนอวบน้ำ ทอดเลื้อย ปลายตั้งตรง สูง 10-15 เซนติเมตร ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปใบหอก สีน้ำตาลแดง มีเส้นใบหลักสีขาวทอดขนานกับใบ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจะ ออกที่ปลายลำต้น ดอกสีขาวนวล ดิน: อิฐมอญทุบผสมดินใบก้ามปู น้ำ: ปานกลาง ในฤดูหนาวควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันหัวเน่า แสงแดด: รำไรถึงครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ : สามารถใช้คุ้มกันภัยอันตรายได้เหมือนว่านนกคุ้ม เป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงระบบเลือด แก้หอบหืด โรคปอด แก้ไอ แก้ท้องอืดเฟ้อ โรคริดสีดวงทวาร โรคกระเพาะอาหาร โรคเกี่ยวกับเส้นประสาท ปวดข้อกระดูก ว่านชนิดนี้บางถิ่นเรียก “ว่านนกคุ้ม”

ลิ้นมังกรฟรานซิสิอาย

ลิ้นมังกรหางเม่น ชื่อวิทยาศาสตร์: Sansevieria francisii Chahin. วงศ์: Asparagaceae ประเภท ไม้อวบน้ำ ลำต้น: เป็นพุ่มเล็ก สูงเพียง 15 – 30 เซนติเมตร ใบ: ใบค่อนข้างกลม ออกเวียนเป็นรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 5 – 8 เซนติเมตร ปลายใบแหลมแข็งสีน้ำตาลเข้ม แผ่นใบสีเขียวมีลายสีเทาพาดตามขวางถี่ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจะ ชูสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนหรือดินปนทราย ระบายน้ำดี น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด : รำไรถึงครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกไหลหรือปักชำใบ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง ปัจจุบันมีพันธุ์ใบด่างที่สวยงามเช่นกัน

คิงปาล์ม

Alexander Palm/King Palm/Northern Bangalow Palm ชื่อวิทยาศาสตร์: Archontophoenix alexandrae (F.Muell.) H.Wendl. & Drude ประเภท: ปาล์มต้นเดี่ยว ความสูง: 1 – 4 เมตร แต่สามารถสูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้น: เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 – 15 เซนติเมตร คอยาวสีเขียวเด่นชัด ใบ: รูปขนนกเป็นพวง ทางใบยาว 2.50 เมตร ใต้ใบมีนวลสีขาว ช่อดอก: ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกใต้คอ ช่อแผ่กระจายยาว 60 เซนติเมตร สีขาวนวล ผล: ติดผลจำนวนมาก ผลกลม ขนาด 1 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนอุดมสมบูรณ์และชุ่มชื้น แสงแดด: ตลอดวัน […]

สาลิกาลิ้นทอง

ไทรใบโพธิ์หัวกลับ/ไทรสามเหลี่ยม/สาลิกาใบใหญ่/Mistletoe Fig/Mistletoe Rubber Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus deltoidea Jack วงศ์:  Moraceae ประเภท: ไม้ต้นกึ่งผลัดใบ ความสูง: สูงไม่เกิน 7 เมตร ลำต้น: เปลือกต้นสีเทา ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับหรือรูปช้อน กว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ แผ่นใบแข็งหนาคล้ายแผ่นหนังด้านบนใบเห็นเส้นใบนูนขึ้น ก้านใบมีสีแดงเรื่อ ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ สีขาวนวล ผล: ทรงกลม ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่เป็นสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทุกประเภท น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ :  ปลูกประดับสวน หากใครปลูกไว้จะช่วยให้มีเสน่ห์ด้านวาจา และทำมาค้าขึ้น […]