ทาร์รากอน

เม็กซิกันทาร์รากอน/ดาวเรืองเม็กซิโก/Tarragon/Mexican Tarragon ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes lucida Cav. วงศ์: Asteraceae ประเภท: ไม้ดอกอายุหลายปี ลำต้น: ต้นเป็นพุ่มขนาดเล็ก สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นเล็ก ทุกส่วนอวบน้ำและมีขนอ่อนปกคลุม ใบ: ใบรูปแถบเล็ก ๆ ออกเวียนสลับรอบกิ่ง เมื่อขยี้ใบมีกลิ่นหอม ดอก: ดอกออกที่ปลายยอด ดอกบานขนาด 1-1.5 เซนติเมตร มี 5 กลีบ สีเหลืองสด ผล: เมล็ดมีขนาดเล็ก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน ชอบอากาศเย็น ทนทาน น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเลี้ยงง่าย เป็นไม้กระถางหรือไม้ประดับแปลง ในธรรมชาติพบบนเทือกเขาสูงพื้นดินเป็นหิน จึงชอบอากาศเย็น แต่ปรับตัวและปลูกประดับได้ดีในเมืองไทย นิยมปลูกในสวนอังกฤษหรือสวนหินที่มีแสงแดดตลอดวัน ทาร์รากอนมีสารประกอบที่ให้กลิ่นหอม ชาวเม็กซิโกจึงนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งใบสดและใบแห้งชงชาดื่ม […]

ว่านตีนจิ้งจก

ตีนตะขาบ/ตีนตุ๊กแก ชื่อวิทยาศาสตร์: Kalanchoe daigremontiana Raym.-Hamet & Perrier x K. tubifera (Harv.) Hamet วงศ์: CRASSULACEAE ประเภท: ไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี ลำต้น: ต้นสูง 20-25 เซนติเมตร ทุกส่วนอวบน้ำ ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี โคนและปลายใบแหลมอวบหนา สีเขียวอมเทา มีแต้มสีน้ำตาลแดงกระจายทั่วใบ ขอบใบจักฟันเลื่อย สามารถแตกต้นอ่อนตามรอยหยักได้ ดอก: ดอกไม่ปรากฏ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำยอด ใบ หรือต้นอ่อน การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้เป็นสมุนไพรบรรเทาอาการแมลงกัดต่อยและฝี โดยนำใบมาผ่าครึ่งแปะบริเวณที่เกิดอาการ

ว่านนิรพัตร

คว่ำตายหงายเป็น/ฆ้องสามย่านตัวผู้/เบญจพัตร/เพลาะแพละ/ส้มเช้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken วงศ์: Crassulaceae ประเภท: ไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี ลำต้น: ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่อต้นแก่ ลำต้นจะแข็ง ใบ: ใบออกตรงข้าม ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ปลายใบมน แตกต้นอ่อนตามขอบใบ ก้านใบยาว 2.5-3 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายยอดเป็นช่อกระจะแยกแขนง ชูสูงกว่า 30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดห้อยลง ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีแดงเรื่อ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำต้น ปักชำใบ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้เป็นสมุนไพร โดยนำใบมาเผาไฟเล็กน้อย หรือตำให้ละเอียดจนมีน้ำเมือกลื่นๆ ใช้ทาบาดแผลไฟไหม้ […]

ว่านพญาปัจเวก

พญาเศวต/พระยาเศวต ชื่อวิทยาศาสตร์: Caladium humboldtii (Raf.) Schott วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 8-10 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวแบบเผือก หัวกลม ขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร ทุกส่วนอวบน้ำ ใบ: ใบรูปหัวใจ โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม แผ่นใบบางสีเขียว มีแต้มสีขาวกระจายทั่วใบ ก้านใบกลมสีเขียวอ่อน โคนกาบใบสีน้ำตาลเรื่อ ดอก: ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับและใช้เป็นสมุนไพร โดยนำหัวมาตำผสมเหล้า ทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย บ้างว่าใช้แก้พิษงู หมายเหตุ: ว่านชนิดนี้ปลูกเลี้ยงกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตามบ้านขุนนางใหญ่ เพื่อประดับบารมี