มันเทศประดับ

    Sweet Potato ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea barbatus (L.) Poir. & hybrid วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อย ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นอวบน้ำ มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบ: ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขนาด 5 – 7เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบอาจหยักเว้าเป็น 3-5 พู ก้านใบยาว ดอก: ดอกเดี่ยวออกตามซอก ดอกรูปแตร สีชมพูอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร  ผลเป็นฝัก แต่มีพิษ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวน หรือปลูกคลุมดิน ปลูกเลี้ยงง่าย […]

ไผ่ฟิลิปปินส์ด่าง

ไผ่ฟิลิปปินส์/Gold-dust Dracaena/Florida Beauty ชื่อวิทยาศาสตร์: Dracaena surculosa ‘Florida Beauty’ วงศ์: Asparagaceae ประเภท: ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้น: แตกเป็นกอ รูปทรงแผ่เตี้ย สูง 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร  ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลมถึงสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีจุดสีเขียวอมเหลืองกระจายทั่วไป ก้านใบสั้น ดอก: ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผล: ผลสด ทรงกลม สีส้ม เมล็ดสีขาวถึงสีน้ำตาลอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินร่วนหรือร่วนปนทราย ระบายน้ำดี แสงแดด: แดดรำไร น้ำ: ปานกลาง-สูง สม่ำเสมอ ไม่ชอบแฉะ การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง […]

หางกระรอกแดง

Red Cat’s Tail ชื่อวิทยาศาสตร์: Acalypha chamaedrifolia (Lam.) Müll. Arg. วงศ์: Euphorbiaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อนขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นทอดเลื้อยไปตามผิวดินได้ไกล 1-2 เมตร ใบ: เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่ ขนาด 1-2 x 2-4 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบหนาสีเขียว ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ช่อห้อยลง ยาว 3-4 เซนติเมตร ดอกย่อยสีแดงอัดกันแน่น ออกดอกตลอดปี ผล: มักไม่ติดผล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถางแขวนหรือปลูกคลุมดิน ควรระวังเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย

เฟินแววแมลงทับ

เฟินแววปีกแมลงทับ ชื่อวิทยาศาสตร์: Microsorum thailandica T. Boonkerd & Noot. วงศ์: Polypodiaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินอิงอาศัย ลำต้น: เป็นเหง้าเลื้อยสั้น ใบ: เดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 10-20 เซนติเมตร ใบหนาและค่อนข้างแข็ง สีเขียวเข้มเหลือบน้ำเงินเป็นมันวาว อับสปอร์สีน้ำตาลแดง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เบา เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ เช่น กาบมะพร้าวสับ กานเฟินชายผ้าสีดา (รากเฟินชายผ้าสีดา) ผสมกับถ่านทุบและใบไม้ผุ น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นสูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือแยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : เป็นเฟินที่พบทางภาคใต้ของไทยเมื่อปีพ.ศ. 2537 เกาะอาศัยตามผาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น นิยมใช้จัดสวนหรือทำไม้กระถางแขวน

ปอเทือง

ถั่วเมรี/หิ่งเม่น/หิ่งหาย/ฮ่งหาย/Smooth Rattled Pod/Crotalaria ชื่อวิทยาศาสตร์: Crotalaria pallida Ait. วงศ์: Papilionaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่ม ใบ: ใบประกอบแบบมีใบย่อย 3 ใบ รูปรียาว 3-8 เซนติเมตร ปลายมนทู่ ดอก: เป็นช่อยาวที่ปลายยอด สีเหลือง มี 5 กลีบ กลีบบนมีแต้มสีน้ำตาลแดงพาดตามยาว สองกลีบล่างเชื่อมติดกัน ปลายแหลมโค้งขึ้น อับเรณูสีส้ม ขนาดดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร ออกดอกฤดูฝน ผล: ฝักทรงกระบอก ปลายโค้งงอนขึ้น ยาว 4-5 เซนติเมตร ผิวมีขน ผลแก่แตก ภายในมีเมล็ดรูปไต สีน้ำตาล จำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: […]

หญ้ากาบหอยตัวเมีย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lindernia crustaceae  (L.) F. Muell. วงศ์:  Scrophulariaceae ประเภท:  ไม้ล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 5-20 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งชูขึ้น เป็นเหลี่ยม     ใบ: เดี่ยว ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานถึงรูปไข่กว้าง ขนาด 4-15 x 6-19 มิลลิเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย     ดอก: รูปแตร สีม่วงหรือม่วงอ่อน มี 5 กลีบ ผล: แห้งรูปกระสวยหรือกลม หุ้มด้วยกลีบเลี้ยงที่ยังติดอยู่ เมล็ดเล็ก จำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ:  พบตามสนามหญ้าและริมทางที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ริมแม่น้ำ นาข้าวและที่ลุ่มทั่วไป เป็นสมุนไพร […]

ผักแว่นดอย

ปุ้มฟ้า/Pink Oxalis ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxalis corymbosa  DC. วงศ์: Oxalidaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 15-25 เซนติเมตร ลำต้น: อยู่ใต้ดิน ใบ: ออกเป็นกระจุกจากต้น ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ รูปหัวใจ     ดอก: ช่อดอกมีก้านยาวชูสูงขึ้น ดอกรูปถ้วยขนาดเล็ก สีชมพูถึงชมพูม่วง ดอกดกในฤดูฝน ผล: แห้ง เมื่อแก่แตก ปล่อยเมล็ดเล็กๆ เหมือนฝุ่นออกมา อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: แยกไหล การใช้งานและอื่นๆ:  พบในสวน สนาม ทุ่งหญ้า หรือริมทางที่มีดินชุ่มชื้นหรือแฉะ และมีอากาศค่อนข้างเย็น พบมากทางภาคเหนือ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ใบมีรสเปรี้ยว กินได้ ใช้ปลูกคลุมดินหรือใส่กระถางตั้งประดับตามบ้าน

สนเลื้อยใบไหม

Shore Juniper ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus conferta ‘Blue Pacific’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: เป็นพุ่มเตี้ย กิ่งทอดนอนแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งตั้งขึ้น เปลือกสีน้ำตาลแดง ใบ: รูปแถบแคบ ยาว 8-15 มม. ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ใบ ปลายใบแหลมคม ผิวด้านบนโค้งนูนเป็นมัน สีเขียวอมน้ำเงิน เป็นสันตรงกลาง ใต้ใบเป็นร่อง ผิวมีนวล มีแถบปากใบ 1 แถบ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมใช้จัดสวน

สนริเชสัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus chinensis L. ‘Richeson’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 30-50 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มเตี้ยและแผ่กว้าง กิ่งย่อยออกเป็นกระจุกแน่น ใบ: คล้ายเกล็ด สีเขียวอมเหลืองและมีนวล ปลายกิ่งสีอ่อนจาง ดอก: ช่อดอกสีน้ำตาลแดงออกที่ปลายกิ่ง อัตราการเจริญเติบโต: ช้ามาก ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ชอบอากาศเย็น ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกคลุมดิน

ผักคราด

ผักคราดหัวแหวน/ผักตุ้มหู/ผักเผ็ด/อึ้งฮวยเกี้ย/Para Cress/Toothache Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen วงศ์: Asteraceae (Compositae) ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน มีขนเล็กน้อยและมีสีแดงเรื่อ ใบ: เดี่ยว รูปสามเหลี่ยมถึงรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ผิวใบสาก ดอก: ช่อดอกผลิจากซอกใบ ปลายยอดชูตั้งขึ้น แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็ก ๆ อัดกันแน่นคล้ายตุ้มหู บางท้องถิ่นจึงเรียก“ผักตุ้มหู” มีกลีบดอกสีเหลืองเรียงเป็นวงรอบ เมื่อดอกแก่จะติดเมล็ด รูปรีเรียว ยาวประมาณ 5 เซนติเมตรสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำ ส่วนปลายมีขนช่วยกระจายพันธุ์ ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้คลุมดิน หรือไม้กระถาง ♦ ยอดอ่อนกินเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ก้อย […]

บาหยา

ผักกูดเน่า ย่าหยา อ่อมแซบ Creeping Foxglove ชื่อวิทยาศาสตร์: Asystasia gangetica (L.) Anderson วงศ์: Acanthaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: เป็นเหลี่ยม ทอดเลื้อยตามผิวดิน ยอดชูตั้งขึ้น ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ป้อม ออกตรงข้ามกัน ปลายใบแหลม โคนใบป้าน แผ่นใบบางสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีสีแดงเรื่อ ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายยอดชูตั้งขึ้น ดอกสีเหลืองอ่อน ม่วงอ่อน ม่วง กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ผล: เป็นฝักยาว เมื่อแก่จะแตกออก ภายในมีเมล็ดแบนสีน้ำตาล ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดิน ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับลาบ แจ่ว น้ำพริกปลาร้า กินได้ตลอดปี […]

ช้าพลู

ชะพลู/นมวา/ผักแค/ผักพลูนก/ผักอีเลิด/Wild Betal Leaf ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb. วงศ์: Piperaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: ลำต้นทอดเลื้อย ยอดชูเป็นพุ่ม ใบ: เดี่ยว รูปหัวใจ ออกเวียนรอบต้นปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบมีรอยย่นตามเส้นใบ ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด มีดอกย่อยอัดกันแน่นภายในช่อ สีขาว ผล: มักไม่พบ ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเลี้ยงง่าย นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดิน ใบมีกลิ่นหอม รสเผ็ดเล็กน้อย นิยมกินเป็นผักสด ห่อเมี่ยงคำ กินกับส้มตำ ลาบ ซอยใส่ข้าวยำและแกงคั่ว หรือใส่แกงเนื้อสัตว์เพื่อดับคาว เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อม นิยมกินในฤดูฝนเพราะยอดอ่อนดกและรสชาติดี ใบมีสรรพคุณบำรุงธาตุ ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ และมีสารต้านมะเร็ง […]