เถาดอกบานตูม

 เอน/จิงจ้อขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia umbellata (L.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: มีรากออกตามข้อ เลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนเว้า มนหรือตัดตรง ผิวใบด้านบนมีขนประปราย ใต้ใบมีขนสั้นหนาแน่น ก้านใบมีขนสั้น ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกแบบซี่ร่ม ดอกสีเหลืองอมส้ม รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บาน เส้นดอกเป็นแฉกรูปดาว ขนาดดอก 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-กรกฎาคม ผล: เกลี้ยง เมล็ดมีขนสั้นหนาแน่น อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช พบตามริมถนน ที่รกร้าง ทุ่งหญ้า ยอดและใบอ่อนรับประทานได้ ใบใช้ตำพอกแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

ผักไผ่

จันทน์โฉม/พริกม้า/หอมจันทน์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Polygonum odoratum Lour. วงศ์: Polygonaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง: 15 – 20 เซนติเมตร ลำต้น: เจริญเป็นพุ่ม ลำต้นสีแดงเรื่อทอดเลื้อย รากแตกตามข้อ ทุกส่วนของต้นเมื่อขยี้มีกลิ่นหอม ใบ: เดี่ยวรูปใบหอก ออกเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนก้านแผ่โอบหุ้มลำต้นออกเวียนสลับ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดออกที่ปลายยอดชูตั้งขึ้น กลีบดอก 5 กลีบสีชมพู กึ่งกลางมีเกสรสีขาว ทยอยบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ ผล: ขนาดเล็ก ดิน: ดินเหนียว น้ำ: มาก แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ:ปลูกเป็นไม้น้ำประดับสวนหรือในกระถาง เมื่อต้นทอดเลื้อยควรตัดแต่งออกบ้างแล้วนำกิ่งที่ตัดมาปักชำต่อ ♦ ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับแหนมเนือง ซอยใส่ข้าวยำ ลาบ ก้อยหรือปรุงใส่ต้มยำ จะช่วยให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ♦ ยอดและใบอ่อนรสร้อน ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ให้วิตามินเอและฟอสฟอรัสสูง

ชะอม

ผักหละ/ผักหา ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia pennata Willd. ssp. insuavis Nielsen วงศ์: Leguminosae-Mimosoideae ประเภท: ไม้รอเลื้อย อายุหลายปี ลำต้น: ทุกส่วนปกคลุมด้วยหนามแหลม ใบ: ประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเล็ก ๆ จำนวนมาก ในช่วงกลางวันใบจะแผ่กางออกพอตกเย็นจะหุบห่อเข้าคล้ายนอนหลับ ดอก: ช่อดอกเป็นกระจุกกลมเล็ก ๆออกตามซอกใบ คล้ายกับดอกกระถิน แต่เรามักไม่ค่อยสังเกตเห็น ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: ปักชำหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ริมรั้ว หมั่นตัดแต่งทรงพุ่มหรือยอดอยู่เสมอเพื่อให้ต้นไม่สูงเกินเอื้อมจะแตกยอดใหม่ให้เก็บกินได้ตลอดปี ♦ ในฤดูแล้งมักมีหนอนผีเสื้อและเพลี้ยแป้งทำลาย ♦ ยอดและใบอ่อนมีรสจืด กลิ่นฉุน นำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงแค แกงขนุน แกงอ่อม หรือกินสดกับตำมะม่วง ตำกระท้อน ชะอมชุบไข่ทอดหรือลวกนึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก ♦ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตา เพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส […]