ทำความรู้จักต้นหูกวางที่กำลังจะหายไป! กับภูมิทัศน์ใหม่ของหาดเมืองพัทยา

หลังจากมีการแถลงข่าวและเริ่มต้นดำเนินการรื้อถอนไปเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 ตามนโยบายในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองพัทยาตลอดแนวชายหาดพัทยาของ นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ภายใต้งบประมาณดำเนินการกว่า 166 ล้านบาท ซึ่งออกแบบและดำเนินการปรับปรุงโดยบริษัทนงนุชแลนด์ แอนด์ การ์เด้นดีไซน์ จำกัด กลายเป็นประเด็นร้อนแรงเพียงชั่วข้ามคืน เมื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์ดังกล่าวควบรวมไปถึงการรื้อถอนและทำลายต้นหูกวางเก่าแก่ รวมทั้งต้นไม้เดิมของพื้นที่บริเวณชายหาดพัทยาเกือบทั้งหมดไปอย่างน่าเสียดาย หลังจากเริ่มดำเนินการไปเพียงไม่กี่วันก็เริ่มมีเสียงร้องเรียนจากชาวเมืองพัทยาบางส่วนถึงความเหมาะสมของการเข้าไปรื้อถอนและทำลายต้นหูกวาง รวมถึงต้นไม้เดิมบางส่วนที่มีอายุตั้งแต่หลายสิบปีไปจนถึงหลักร้อยปี ในบริเวณชายหาดพัทยาเหนือ -ใต้ ตลอดระยะทางประมาณ 2.7 กิโลเมตรของโครงการ Pattaya New look เพื่อปรับระดับพื้นที่ให้ดูเป็นระเบียบร้อยก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยต้นปาล์ม(ไม่ทราบชนิด) ตามที่ปรากฎในแบบการก่อสร้างของบริษัทนงนุชแลนด์ แอนด์ การ์เด้นดีไซน์ จำกัด และเขตปกครองพิเศษเมืองพัทยา โดยในภาพทัศนียภาพที่นำเสนออกมาให้ประชาชนบางส่วนได้เห็นแทบไม่มีเค้าโครงของบริบทและองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมเดิมในพื้นที่ใดหลงเหลืออยู่เลย โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ รู้จักกับต้นหูกวางกันสักหน่อย ต้นหูกวางมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia catappa L. อยู่ในวงศ์ Combretaceae เป็นต้นไม้ยืนต้นอายุยาวนาน สูงได้ถึง 15 – 20 เมตร เป็นต้นไม้ดั้งเดิมที่มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนของโลกทั้งอนุทวีปอินเดีย เอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ยาวไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยส่วนมากจะพบบริเวณป่าชายหาดริมทะเล สถานะเกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในยุคหนึ่งนิยมใช้ปลูกในงานภูมิทัศน์ที่มีขนาดโครงการค่อนข้างใหญ่มากเช่นรีสอร์ตริมทะเลและสวนสาธารณะ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่โตเร็วและแข็งแรงคงทนมาก […]

8 ต้นไม้อันตราย ควรปลูกห่างจากตัวบ้าน

หลายคนสงสัยว่าต้นไม้อะไรไม่สามารถปลูกใกล้บ้านของเรา และต้นไม้อะไรเป็นอันตรายที่จะส่งผลต่อระบบโครงสร้างของบ้านจนเราต้องนำไปวางไว้ไกลๆบ้าง

หูกวาง

โคน/ดัดมือ/ตัดมือ/Bengal Almond/Indian Almond/Olive-bark Tree/Sea Almond/Singapore Almond/Tropical Almond ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia catappa L. วงศ์: Combretaceae ประเภท: ไม้ต้นผลัดใบ ความสูง:  15 – 20 เมตร ทรงพุ่ม: ค่อนข้างกลมหรือรูปพีระมิดหนาทึบ ลำต้น:เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวระนาบเป็นชั้น เมื่อโตเต็มที่ปลายกิ่งลู่ลง ใบ: ใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 8 – 15 เซนติเมตร ยาว 12 – 25 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลมโคนใบสอบแคบเว้า ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจะทรงกระบอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว 8 – 12 เซนติเมตร ดอกเล็กสีขาวนวล ไม่มีกลีบดอก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ผล: ผลรูปไข่หรือรูปรีป้อมแบนเล็กน้อย กว้าง […]