ว่านกลิ้งกลางดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea bulbifera L. วงศ์: DIOSCOREACEAE ประเภท: ไม้เลี้อย อายุหลายปี ลำต้น: มีหัวใต้ดินกลมแป้น สามารถแตกหัวย่อย (bulbil) ตามข้อใบได้ รูปทรงกลม สีน้ำตาล ผิวขรุขระ มีรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจแกมรูปไข่ ขนาด 5-10 เซนติเมตร เส้นใบขนานตามยาวเป็นร่องลึก ดอก: ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกยาว ดอกเพศผู้มีกลิ่นหอม อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูแล้ง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหัว โดยนำหัวย่อยมาปลูกใหม่ การใช้งานและอื่นๆ: ว่านชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านพระฉิม ซึ่งแตกต่างกันที่ผิวของหัวย่อยนูนขึ้น ขณะที่ว่านกลิ้งกลางดงผิวเป็นรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม เป็นสมุนไพร โดยนำหัวมาฝนกับว่านเพชรหึง ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬ และระงับพิษร้อนให้เย็นได้ หรือใช้อาบเป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยรักษาโรคไข้ทรพิษ ความเชื่อ: […]

ว่านนิลพัตร

ไดคอนดรา/ว่านไก่ชน/Lawn Leaf/Gelenga Grass ชื่อวิทยาศาสตร์: Dichondra  micrantha Urb. วงศ์: CONVOLVULACEAE ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: มีลำต้นใต้ดินคล้ายเผือกขนาดเล็ก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามผิวดินเป็นพุ่มสูง 15-30 เซนติเมตร รากออกตามข้อ ใบ: ใบรูปหัวใจ ออกใกล้กันเป็นกระจุก ขนาด 2-4 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก: ดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูร้อนและฤดูหนาว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไรถึงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อหรือปักชำลำต้น การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับคลุมดินแทนหญ้า และเชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี สามารถป้องกันศัสตราวุธมีคมทั้งปวง ถ้านำหัวมาฝนใช้ทาตัว จะสามารถนอนบนกองไฟได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน หากกินหัวว่านนี้เข้าไปด้วยจะสามารถแบกหาม ชักลากไม้ได้ตลอดโดยไม่เหน็ดเหนื่อย เมื่อนึกจะทำการใดๆ ก็สำเร็จดีสิ้นทุกอย่าง ถ้าทาที่แข้งไก่ชนอีกฝ่ายจะแพ้ไปเอง จึงนิยมใช้กันมาก และเรียกกันว่า […]

ว่านสบู่เหล็ก

ว่านสามพันตึง ชื่อวิทยาศาสตร์: Xanthosoma nigrum (Vell.) Mansf. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 2 เมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายเผือก แตกหน่อและไหลสั้นๆ รอบต้นแม่จำนวนมาก  ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวกว่า 15 เซนติเมตร โคนใบเงี่ยงลูกศร ปลายใบแหลม แผ่นใบหนา สีเขียวคล้ำ เห็นเส้นใบสีเขียวเทา และมีนวลปกคลุม ใต้ใบสีเขียวเทา ก้านใบกลม สีม่วงคล้ำ ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับรองรับช่อดอกสีเขียวอมม่วง ตอนบนสีขาว ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ แยกไหล การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ […]

ว่านพญาหอกหัก

ตะพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium flagelliforme (Lodd.) Blume วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอกแคบ โคนใบรูปหัวลูกศร ปลายใบแหลม ก้านใบกลมยาวสีเขียว  ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลายสีแดงอ่อน ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ใช้เป็นสมุนไพรแก้โรคผิวหนัง เชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี หากกินจะรู้สึกคันมากเหมือนมีอะไรมาแทงลิ้น เนื่องจากสารแคลเซียมออกซาเลตที่อยู่ในต้นนั่นเอง