ไทรสามเหลี่ยมด่าง

สาลิกาด่าง/ไทรด่างรูปหัวใจ/เศรษฐีโพธิ์เงิน/Mistletoe Fig/Mistletoe Rubber Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus deltoidea (Variegated) วงศ์:  Moraceae ประเภท: ไม้ต้นกึ่งผลัดใบ ความสูง: สูงไม่เกิน 7 เมตร ลำต้น: เปลือกต้นสีเทา ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับหรือรูปช้อน กว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ แผ่นใบแข็งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนใบเห็นเส้นใบนูนขึ้น ใบสีเขียว ขอบใบด่างขาว ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ สีขาวนวล ผล: ทรงกลม ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่เป็นสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทุกประเภท น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ :  ปลูกประดับสวน […]

หูกระจงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia sp. วงศ์: Combretaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: สูง 3 เมตร ทรงพุ่มคล้ายรูปกรวยคว่ำ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นชั้น ใบ: ใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบกิ่ง รูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้าง 1.5- 3 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบแหลม สีเขียวอมเหลือง เส้นใบและกึ่งกลางใบสีม่วงแดง ก้านใบสั้น ดอก: ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก สีขาวนวลหรือขาวอมเหลือง เมืองไทยยังไม่พบออกดอก อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกประดับแปลง เกร็ดน่ารู้:  ชื่อสกุลมาจากภาษาละตินว่า terminus สื่อถึงพุ่มใบที่กระจุกอยู่ปลายกิ่ง บางเว็บไซต์ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia benzoe Pers. แต่เป็นชื่อที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ

ยี่เข่ง

คำฮ่อ/Chinese crape myrtle/Crape myrtle/Indian lilac ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia indica วงศ์: Lythraceae ประเภท: ไม้พุ่มผลัดใบขนาดกลาง ลำต้น: สูง 3-7 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลเป็นมัน ใบ: ใบเดี่ยว รูปรีถึงรูปไข่กว้าง โคนรูปลิ่มกว้างถึงกลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ท้องใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่เล็กน้อย   ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกบางและจีบย่น มีหลายสี ได้แก่ สีขาว สีชมพู สีชมพูเข้ม สีม่วง และสีแดง บริเวณกลางดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกตลอดปี แต่ดกในช่วงหน้าฝนถึงหน้าหนาว ผล: รูปกลมถึงรี ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: ค่อนข้างช้า ปลูกเลี้ยงง่าย ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: ชอบแดดจัด ทนแล้งได้ดี น้ำ: ปานกลาง […]

กูดดอย

กูดข้างฟาน/Centipede Fern/Oriental Blechnum/Oriental Hammock Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Blechnum orientale L. วงศ์: Blechnaceae ประเภท: : เฟินดิน ลำต้น: ต้นสูงได้ถึง 1-2 เมตร ตามลำต้นมีเกล็ดรูปแถบสีน้ำตาลปกคลุม   ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ยาวประมาณ 60-120 เซนติเมตร ใบย่อยรูปแถบ ขอบใบเป็นคลื่น ก้านใบมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง อับสปอร์: ใต้ใบมีอับสปอร์สีน้ำตาลเป็นแถบแคบ เรียงตามแนวเส้นใบย่อย อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน หรือรำไร ชอบอากาศเย็น น้ำ: มาก การขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับแปลง ไม้กระถาง โดยใช้วัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตถุสูง เช่น ดินผสมใบก้ามปูกับกาบมะพร้าวสับ หรือใช้จัดสวนแบบทรอปิคอล เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย หมู่เกาะโพลินีเซีย และออสเตรเลีย

คาเมลเลีย

Camellia ชื่อวิทยาศาสตร์: Camellia japonica  L. และลูกผสม วงศ์: Theaceae ประเภท: ไม้ดอกอายุหลายปี เป็นไม้ผลัดใบสกุลเดียวกับต้นชา มีมากกว่า 2,000 พันธุ์ ลำต้น: พุ่มสูง 5-20 เมตร ใบ: ใบรูปรีแกมไข่หรือใบหอก ขอบหยักซี่ฟัน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอก: ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่มตามซอกใบและปลายยอด มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ขนาด 8-12 เซนติเมตร มีสีขาว เหลือง ชมพู แดง และสองสีในดอกเดียวกัน บางพันธุ์มีกลิ่นหอม ผล: รูปกลม สีม่วงแดง มีขนสีขาวนุ่มมือ เมื่อแห้งแตกเป็นพู มี 1-8 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินปลูกชุ่มชื้น ระบายน้ำดี เป็นกรดเล็กน้อย แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน-รำไร ชอบอากาศเย็น น้ำ: ปานกลาง […]

มานูก้า

Manuka/Tea Tree ชื่อวิทยาศาสตร์: Leptospermum scoparium Forst. & Forst.f. วงศ์: Myrtaceae ประเภท: ไม้ดอกอายุหลายปี ลำต้น: พุ่มสูงได้ถึง 3 เมตร ใบ: ใบรูปแถบ ปลายแหลมคล้ายเข็ม แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมม่วงแดง ผิวใบมีขนสีขาวเงิน ดอก: ดอกออกตามซอกใบ มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ขนาด 2 เซนติเมตร กลางดอกมีเกสรเพศผู้เรียงเป็นวง กลีบดอกมีสีขาว ชมพู แดง และสองสีในดอกเดียวกัน ผล: เมื่อแก่แตกได้ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินปลูกระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์มาก แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน ชอบอากาศเย็น ความชื้นในบรรยากาศค่อนข้างต่ำ น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ตัดดอก ไม้ประดับแปลง ไม้กระถาง เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในนิวซีแลนด์ […]

มะลุลีใบด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum  multiflorum  ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น

มะลุลีใบด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum  multiflorum  ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น

ว่านหนุมาน

ว่านเลือด/หนุมานนั่งแท่น/หัวละมานนั่งแท่น/Coral nut/Guatemala Rhubarb/Physic nut ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica  Hook.f. วงศ์: EUPHORBIACEAE ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: สูงได้ถึง 2 เมตร โคนลำต้นอวบน้ำ ขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ทุกส่วนมีน้ำยางสีแดง ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแน่นที่ปลายลำต้น รูปกึ่งทรงกลม ขอบใบมักหยักตื้นๆ เป็น 3 แฉก ก้านใบยาว กลมกลวง ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีแดง เกสรเพศผู้ 10 อัน ผล: ผลแห้งแตกเป็น 3 แฉก รูปกึ่งทรงกลม เป็นพูตามยาว 3 พู เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล เมล็ดสีน้ำตาลปนดำ เป็นมัน […]

ว่านกลิ้งกลางดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea bulbifera L. วงศ์: DIOSCOREACEAE ประเภท: ไม้เลี้อย อายุหลายปี ลำต้น: มีหัวใต้ดินกลมแป้น สามารถแตกหัวย่อย (bulbil) ตามข้อใบได้ รูปทรงกลม สีน้ำตาล ผิวขรุขระ มีรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจแกมรูปไข่ ขนาด 5-10 เซนติเมตร เส้นใบขนานตามยาวเป็นร่องลึก ดอก: ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกยาว ดอกเพศผู้มีกลิ่นหอม อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูแล้ง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหัว โดยนำหัวย่อยมาปลูกใหม่ การใช้งานและอื่นๆ: ว่านชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านพระฉิม ซึ่งแตกต่างกันที่ผิวของหัวย่อยนูนขึ้น ขณะที่ว่านกลิ้งกลางดงผิวเป็นรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม เป็นสมุนไพร โดยนำหัวมาฝนกับว่านเพชรหึง ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬ และระงับพิษร้อนให้เย็นได้ หรือใช้อาบเป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยรักษาโรคไข้ทรพิษ ความเชื่อ: […]