ตะไคร้

คาหอม/ไคร/จะไคร/เซิดเกรย/หัวสิงไค/Lapine/Lemon Grass ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbopogon citratus (DC.) Stapf วงศ์: Poaceae ประเภท: พืชวงศ์หญ้า อายุหลายปี ลำต้น: พุ่มสูงได้ถึง 1.50 เมตร เจริญเติบโตแตกกอออกไปเรื่อยๆ ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าสั้นๆ ลำต้นเหนือดินเป็นส่วนของกาบใบที่โอบกันเป็นลำต้น สีขาวอมม่วง มีนวลสีขาว  ใบ: ใบรูปแถบแคบยาว ผิวใบและขอบใบสากคม   ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ไม่ค่อยออกดอก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี ปลูกได้ทุกสภาพดิน  แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน – เต็มวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปลูกเหง้า โดยแยกเหง้าจากกอให้มีรากติด ตัดใบออกให้เหลือโคนยาว 10-15 เซนติเมตร ปักลงในดิน การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นผักสวนครัว ทั้งปลูกลงดินและปลูกในภาชนะ ใช้ปรุงกลิ่นแกงหรือยำให้หอม ความหอมจากน้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติลดการบีบตัวของลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ควรกินเสริมกันไปในอาหารให้สมดุล เกร็ดน่ารู้: หลังปลูกประมาณ 45 วัน ต้นเริ่มแตกใบและเหง้าใหม่ ใช้เหง้าและลำต้น […]

เฟินริบบิ้น

Ribbon Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Ophioglossum pendulum L. วงศ์: Ophioglossaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินอิงอาศัย ลำต้น: เป็นเหง้าหนาเลื้อยสั้น ใบ: ห้อยลงเป็นแถบแคบยาว ซึ่งยาวได้ถึง 4.50 เมตร กว้าง 3-8 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบแบนหรือบิดเล็กน้อย ปลายใบอาจแตกแขนงเป็นสองแฉก สีเขียวสดเป็นมัน บริเวณโคนใบถึงกลางใบอาจเกิดใบที่สร้างสปอร์ขึ้นมา ลักษณะเป็นแท่งยาว มีก้านสั้นๆ อับสปอร์เรียงเป็น 2 แถว อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เบา เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ เช่น กาบมะพร้าวสับ กานเฟินชายผ้าสีดา (รากเฟินชายผ้าสีดา) ผสมกับถ่านทุบและใบไม้ผุ น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นปานกลางถึงสูง แสงแดด: มาก ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือแยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : มักเกาะอาศัยกับรากเฟินชายผ้าสีดา ซึ่งมีเชื้อราบางชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ปลูกเป็นไม้กระถางแขวนหรือเกาะกับต้นไม้ใหญ่