ผักขมหนาม

กะเหม่อลอมี/ผักโหมหนาม/แม่ล้อดู่/Spiny Amaranth/Spiny Pigweed   ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaranthus spinosus L. วงศ์: Amaranthaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุสั้น ลำต้น: พุ่มสูง 45-60 เซนติเมตร ลำต้นมีหนามตามซอกใบ ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก: ดอกออกเป็นช่อยาวสีเขียว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน-ครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด  การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นผักสวนครัว หลังปลูกอายุ 40 วันก็ถอนเก็บทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ได้ ผักขมหนามมีคุณค่าทางอาหารมาก เมื่อปรุงสุกจะมีรสหวานอร่อย มีวิตามินเอที่ได้จากเบต้าแคโรทีน ถ้าอยากได้วิตามินซีต้องกินสด จะมีรสขมเล็กน้อยของสารซาโปนินที่ช่วยลดคลอเรสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีเส้นใยมาก ช่วยจับสารไนไตรต์ สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในน้ำดื่ม หรือผลิตภัณฑ์ไส้กรอก เป็นต้น เกร็ดน่ารู้: ผักขมชนิดนี้เป็นคนละต้นกับผักปวยเล้ง มีคุณค่าทางอาหารมากกว่า

หงอนไก่

ดอกด้าย/Crested Celosia/Cockscomb ชื่อวิทยาศาสตร์: Celosia cristata L. วงศ์: Amaranthaceae ประเภท: ไม้ดอกอายุสั้น ลำต้น: พุ่มสูง 20-90 เซนติเมตร ใบ: ใบรูปใบหอกหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนสอบ ขอบห่อขึ้นเล็กน้อย ใบสีเขียวหรือสีม่วงแดง เส้นกลางใบสีชมพู ผิวใบย่นเล็กน้อย ดอก: ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ขนาดช่อดอก 8-15 เซนติเมตร กลีบประดับอัดกันแน่น ม้วนงอคล้ายหงอนไก่ มีสีเหลือง ชมพู แดง และสองสีในดอกเดียวกัน ดอกจริงขนาดเล็กสีขาวเงิน แทรกอยู่ในกลีบประดับ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง ควรรดน้ำให้น้อยลงในช่วงที่ต้นออกดอก โดยรดที่โคนต้นเพื่อไม่ให้น้ำขังช่อดอก การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด โดยกลบเมล็ดบางๆ วางภาชนะเพาะในที่มีแสง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถาง ไม้ประดับแปลง ไม้ตัดดอก ดอกไม้แห้ง ถ้าปลูกเป็นไม้กระถางหรือไม้ตัดดอกไม่ควรเด็ดยอด […]

แดงชาลี

ผักโขมแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Aerva sanguinolenta (L.) Blume วงศ์: Amaranthaceae ประเภท:ไม้พุ่ม ความสูง: 25 – 40 เซนติเมตร ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ถึงรูปคล้ายสามเหลี่ยม กว้าง 2 – 3 เซนติเ มตรยาว 2 – 5 เซนติเมตร สีม่วงแดงเข้ม ปลายใบแหลม โคนใบมนถึงสอบ ขอบใบเรียบ มีขนสั้นนุ่มสีขาวปกคลุม ดอก: ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยเป็นกระจุกติดกับก้านช่อดอกดอกย่อยเล็กสีขาวขุ่น อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนมีอินทรียวัตถุสมบูรณ์ แสงแดด: เต็มวัน น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งหรือยอด การใช้งานและอื่นๆ: ควรตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ เพื่อให้ทรงพุ่มไม่รก นิยมปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ เพราะใบมีสีแดงเข้มตัดกับไม้ใบเขียวชนิดอื่นๆ สร้างจุดเด่นในสวนได้ดี

บานไม่รู้โรย

กะล่อม/กุนหยี/ดอกสามเดือน/ตะล่อม/Globe Amaranthus/Bachelor’s button ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena globosa L. วงศ์ AMARANTHACEAE ประเภท:  ไม้ดอกล้มลุก ลำต้น: ลำต้นตั้งตรงหรือทอดเลื้อย แตกกิ่งก้านจากโคนต้น มีขนนุ่มสีขาวหนาแน่น ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก: มีหลายสี เช่น สีขาว ชมพู แดง และม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดไร้ก้านเป็นกระจุกแน่นตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีใบประดับ 2 ใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ตรงกลางดอกมีเกสรเพศผู้แทรกอยู่ ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม. ออกดอกตลอดปี ผล: ผลแห้งเป็นกระเปาะรูปไข่แกมขอบขนาน เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาลเป็นมัน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไประบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: เต็มวัน การใช้งานและอื่นๆ: […]