ไขปริศนา “คำชะโนด” เกาะต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่เคยจมน้ำ

มาจนถึงวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก”คำชะโนด” สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งบ้านโนนเมือง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นวังนาคินทร์และฉากหลังของเรื่องลี้ลับมากมาย เช่น “ผีจ้างหนัง” เปรียบเสมือนดินแดนอันเป็นหมุดหมายปลายทางของนักแสวงบุญและเสี่ยงโชคที่ต้องมาเยือนสักครั้งในชีวิต หลังม่านแห่งเชื่อ คำชะโนดคือป่าที่มีลักษณะเหมือนเกาะกลางน้ําที่เต็มไปด้วยต้นชะโนดซึ่งชาวบ้านที่นี่นับถือ แต่ไม่ค่อยมีใครได้ทำความรู้จักกับต้นไม้ชนิดนี้มากนัก เราจึงขอพาทุกท่านไปรู้จักกับต้นชะโนดแห่งคำชะโนดให้มากยิ่งขึ้น คำชะโนด ชื่อเรียกที่คนเรียกันติดปากนั้นมาจาก 2 คำ คือ คำว่า”คำ”ในภาษาอีสานมาจากคำว่า”น้ำคำ” หมายถึงสถานที่ที่มีลักษณะอุดมสมบูรณ์ มีน้ำซับไหลอยู่ใต้ดินจนผุดออกมาเป็นปริมาณมากให้เห็นเป็นบ่อบนผิวดิน ผู้คนเรียกบ่อน้ำซับที่ไหลออกมาแห่งนี้ว่า”บ่อคำชะโนด” เชื่อว่าเป็นทางเชื่อมต่อสู่โลกบาดาลที่ปกครองโดยพญานาคราชเจ้าปู่ศรีสุทโธและเจ้าย่าศรีปทุมมานาคราชเทวี ส่วนคำว่า”ชะโนด” คือชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ทั่วทั้งเกาะแห่งนี้ ชะโนด เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ปาล์ม หรือ Arecaceae มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Taraw palm หรือ Ceylon oak มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Livistona saribus (Lour.) Merr. ex Cheval. เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่พบอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงทั่วเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และแหลมปลายสุดของทวีปแอฟริกา ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีชื่อเรียกในท้องถิ่นนั้นๆ หลากหลายชื่อ เช่น ค้อพรุ หรือ จะทัง (สุราษฎร์ธานี) ค้อสร้อย (กรุงเทพฯ) […]

หมากแดง

Lipstick Palm/Raja Palm/Sealing Wax Palm ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyrtostachys renda Blume วงศ์: Arecaceae ประเภท: ปาล์มแตกกอ ความสูง: สูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้น:ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 – 15 เซนติเมตร คอลำสีแดงสด ยาว 30 – 50 เซนติเมตร ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ทางใบยาว 1.50 – 2 เมตร ใบย่อยรูปแถบเรียวยาว ก้านใบและเส้นกลางใบสีแดงสด ดอก: ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกใต้คอ ช่อยาว 50 เซนติเมตร เมื่อต้นสมบูรณ์จะออกดอกได้เกือบตลอดปี ติดผลจำนวนมาก ผล: รูปรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มิลลิเมตร เมื่อสุกสีดำ อัตราการเจริญเติบโต: ดิน: ดินร่วนหรือดินเหนียว แสงแดด: […]

เต่าร้าง

เขื่องหมู่/เต่ารั้ง/เต่าร้างแดง/Fishtail Palm/ Wart Fishtail Palm ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryota mitis Lour. วงศ์: Arecaceae ประเภท: ปาล์มแตกกอ ความสูง: สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้น: ลำต้นเห็นข้อปล้องชัดเจน เรือนยอดทึบ ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยรูปหางปลา ขอบใบหยักเว้าไม่สม่ำเสมอ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม ยอดอ่อนและกาบใบอ่อนมีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุม ดอก: ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกที่ซอกกาบใบใกล้ปลายยอด เมื่อต้นสมบูรณ์จะออกดอกได้ตลอดปี ผล: กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.2 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดงคล้ำหรือสีดำ มีเนื้อนุ่มหุ้มเมล็ดแข็งไว้ภายใน อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนหรือดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ทนดินเค็ม แสงแดด: ครึ่งวันถึงเต็มวัน น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: ปัจจุบันมีพันธุ์ใบด่าง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เมื่อนำเมล็ดมาเพาะ […]

จาก

อัตต๊ะ/Atap Palm/Mangrove Palm/Nipa Palm ชื่อวิทยาศาสตร์: Nypa fruticans Wurmb วงศ์: Arecaceae ประเภท: ปาล์มแตกกอ ความสูง: สูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้น:มีลำต้นทอดเลื้อยใต้ดิน แตกกอแน่น ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ทางใบยาว 2 – 3 เซนติเมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5 – 6 เซนติเมตร ยาว 0.90 – 1.20 เมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ดอก: ดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ยาวถึง 60 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเพศเมียออกรวมกันเป็นกลุ่มบนช่อแขนง ดอกเพศผู้อยู่ด้านข้าง เมื่อต้นสมบูรณ์แข็งแรงจะออกดอกตลอดปี ผล: ผลสดเป็นผลกลุ่ม รูปไข่กลับ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – […]