กูดดอย

กูดข้างฟาน/Centipede Fern/Oriental Blechnum/Oriental Hammock Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Blechnum orientale L. วงศ์: Blechnaceae ประเภท: : เฟินดิน ลำต้น: ต้นสูงได้ถึง 1-2 เมตร ตามลำต้นมีเกล็ดรูปแถบสีน้ำตาลปกคลุม   ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ยาวประมาณ 60-120 เซนติเมตร ใบย่อยรูปแถบ ขอบใบเป็นคลื่น ก้านใบมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง อับสปอร์: ใต้ใบมีอับสปอร์สีน้ำตาลเป็นแถบแคบ เรียงตามแนวเส้นใบย่อย อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน หรือรำไร ชอบอากาศเย็น น้ำ: มาก การขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับแปลง ไม้กระถาง โดยใช้วัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตถุสูง เช่น ดินผสมใบก้ามปูกับกาบมะพร้าวสับ หรือใช้จัดสวนแบบทรอปิคอล เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย หมู่เกาะโพลินีเซีย และออสเตรเลีย

เฟินรัศมีโชติ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Blechnum x rasmijoti ‘The Royal Project’ วงศ์: Blechnaceae ประเภท: เฟินขนาดกลาง ลำต้น: ขึ้นเป็นลำสีน้ำตาล ปกคลุมด้วยขนสีดำ ใบ: ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนาน มี 40 คู่ใบ ทางใบกว้าง 30 เซนติเมตร ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ใบอ่อนมี 3 สี สีแดง ชมพู และเขียวอ่อน ใบสร้างสปอร์แคบกว่าปกติ อับสปอร์เรียงอยู่ใต้ใบ สปอร์สีน้ำตาล ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: รำไร ความชื้นสัมพัทธ์สูงและอากาศเย็น น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์:เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: ลูกผสมระหว่างกูดดอยนิวแคลิโดเนีย (Blechnum gibbum)กับกูดดอยบราซิล (B. brasiliense) ที่โครงการพัฒนาเฟินสถานีวิจัยดอยปุย มูลนิธิโครงการหลวง ผลิตและคัดเลือกพันธุ์จนได้ต้นที่มีลักษณะเด่นแปลกตากว่าเดิม ในปีพ.ศ. 2549 หม่อมเจ้าภีศเดช […]