© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
เกี๊ยวหนองบัว วังหลัง ร้านบะหมี่เกี๊ยวเจ้าดัง ที่ยกร้านมาตั้งอยู่ในย่านวังหลัง นอกจากจะมีเมนูอาหารขึ้นชื่อแล้ว ยังโดดเด่นด้วยดีไซน์ของร้าน
เกี๊ยวหนองบัว ร้านบะหมี่เกี๊ยวสูตรเบตงชื่อดังแห่งจังหวัดตราด ที่ดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 50 ปี ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ เมื่อเปลี่ยนผ่านมาสู่รุ่นลูก เกี๊ยวหนองบัวได้รับการรีโนเวตและรีแบรนด์ใหม่ จากสาขาแรกในตึกแถว 3 คูหา กลางเมืองตราด ผ่านมาราว 3 ปี วันนี้เกี๊ยวหนองบัวได้ขยายสาขา 2 มายังย่านวังหลัง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ขอนำความเป็นตราดมาให้คนกรุงเทพฯ สัมผัสและลิ้มลอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ เกี๊ยวหนองบัว สาขาวังหลัง ตั้งอยู่ในตรอกวัดระฆัง หน้าร้านเป็นลานโล่งเชื่อมติดกับถนน เมื่อมองเข้ามาจะเจอกับตัวอาคารที่หยิบเอกลักษณ์บ้านเก่าสมัยรัชกาลที่ 4-5 ในจังหวัดตราด มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ กลายเป็นรูปทรงอาคารพื้นถิ่นประยุกต์ ผสมผสานกับความร่วมสมัย เน้นสะท้อนตัวตนและทำให้ร้านเกิดภาพจำด้วยการดึงคาแร็กเตอร์คุณพ่อเจ้าของร้าน ซึ่งมีบุคลิกสมถะและจริงใจมาเล่าผ่านการเลือกใช้วัสดุ ที่มีกลิ่นอายความเรียบง่ายและทันสมัยอยู่ในที ตัวอาคารออกแบบหลังคาให้มีความสโลบ เมื่อมองจากด้านนอกจะเหมือนว่าที่นี่เป็นอาคารชั้นเดียว แต่แท้จริงแล้วภายในแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ชั้น พร้อมชั้นดาดฟ้าให้ขึ้นไปชมวิว ชั้น 1 จะพบกับโซนขายของฝาก รวบรวมของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดตราดมาให้ชอปปิ้ง จากโซนนี้สามารถมองเห็นครัวเปิด ซึ่งเป็นอีกสีสันหนึ่งของร้าน บ่งบอกความตั้งใจในการรังสรรค์ทุกเมนู โดยครัวเปิดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของครัวขนาดใหญ่ที่ออกแบบให้ยาวขนานไปตามแนวผนังฝั่งซ้าย และต่อเนื่องไปจนถึงถนนหน้าร้าน แล้วออกแบบแมสอาคารให้ปิดครัวส่วนหน้านี้ […]
สิรีสกลธรณ์ ได้รับการตั้งชื่อโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล มีความหมายว่า บริบูรณ์ด้วยมิ่งขวัญและความทรงจำของแผ่นดิน
เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว เรียกได้ว่าเป็นฤดูกาลแห่งไม้ดอกจริงๆ สวนดอกไม้ต่างๆก็เริ่มทะยอยผลิดอกกันสะพรั่ง เช่นเดียวกันกับ ดอกบัวตอง ที่แข่งกันเบ่งบานกันเต็มทุ่ง เป็นจุดถ่ายรูปที่สวยมากอีกที่หนึ่ง ที่หลายคนเริ่มไปแชะภาพเช็กอินกันอย่างต่อเนื่อง
Garden Hotpot Restaurant ร้านฮ็อตพ็อต ในเมืองเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑณเสฉวน มหานครสีเขียวทางตะวันตกของประเทศจีน เมืองที่รุ่มรวยด้วยศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ เพื่อบอกว่า ฮ็อตพ็อต ไม่ใช่เป็นแค่วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนที่นี่ MUDA-Architects จึงออกแบบร้านให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศทางธรรมชาติ ในรูปแบบอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพต่อบริบทเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การรับประทานอาหารอันทันสมัย ร้านอาหารเเห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตชนบทของ Sansheng Township ล้อมรอบด้วยสระบัว และซ่อนตัวอยู่ในป่ายูคาลิปตัส งานสถาปัตยกรรมโดดเด่นดูโปร่งเบา ด้วยโครงสร้างน้ำหนักเบายกพื้นเหนือระดับพื้นดินและผืนน้ำ ดีไซน์ไร้ผนัง เสาสูงโปร่ง ช่วยให้อาคารหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ส่วนแรงบันดาลใจจากไอน้ำและควันจากหม้อฮอตพอทที่กำลังเดือด ถูกต่อยอดเป็นอาคารรูปทรงโค้งอิสระ เส้นโค้งของหลังคาดีไซน์ตามลักษณะของที่ตั้งและฟังก์ชันภายในร้าน พื้นอาคารด้านล่างสอดคล้องกับส่วนโค้งของหลังคาดูเหมือนสะท้อนภาพซึ่งกันและกัน สื่อให้เห็นถึงความมั่นคงและสมบูรณ์ ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวม 1,800 ตารางเมตร หลังคาอาคารทำจากเหล็กกัลวาไนซ์ เคลือบด้วยฟลูออโรคาร์บอนสีขาว เสาเหล็กมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 88 มิลลิเมตร ทำให้โครงสร้างดูกลมกลืนกับลำต้นของต้นยูคาลิปตัส ออกแบบให้มีราวกันตกไม้เพื่อแบ่งขอบเขตของทะเลสาบกับพื้นที่ร้าน ทั้งยังใช้เป็นที่นั่งได้ในตัวช่วยให้ลูกค้าใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น IDEA TO STEAL แบ่งขอบเขตระหว่างพื้นที่ด้วยราวกันตกไม้ที่ใช้งานได้แบบ 2 in 1 คือเป็นทั้งที่นั่งและราวกันตก ช่วยเชื่อมสเปซภายในกับภายนอกเข้าด้วยกัน เจ้าของ : Xinhua […]
Speciality Caffee Shop คาเฟ่กลางบัวโนสไอเรส ที่ออกแบบผ่านเส้นสายเรียบง่ายอย่างรูปทรงเรขาคณิตดูกลมกลืนไปกับโทนสีกลาง หิน พรรณไม้ และประติมากรรม
บ้านไม้ชั้นเดียว ขนาดน่ารักสร้างอยู่ริมสระบัว ให้กลิ่นอายแบบบ้านต่างจังหวัด โดยภายในผสมผสานการตกแต่งหลากสไตล์
ความจริงไขกระจ่างแล้ว ปริศนาความแตกต่างของ บัวหิน และบัวบกโขด นำไปสู่การค้นพบต้นไม้ชนิดใหม่ของโลก แม้จะคล้ายกับบัวบกโขดที่หลายคนรู้จัก แต่นี่คือบัวหิน ต้นไม้พื้นถิ่นของไทย ซึ่งน่าปลูกไม่แพ้กัน บัวหิน ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stephania kaweesakii Jenjitt. & Ruchis. หรือที่รู้จักกันในชื่ออื่นๆคือ บัวผา บัวเงิน โดย ผศ.ดร.ทยา เจนจิตติกุล และ ดร. สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการตีพิมพ์พืชสกุลสบู่เลือด (Stephania) หรือที่เหล่านักสะสมต้นไม้รู้จักกันก็คือ กลุ่มของบัวบกโขดและบอระเพ็ดพุงช้าง ในวารสาร Phytotaxa 464 (3) แม้ว่าพืชชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันในท้องตลาดของนักสะสมไม้โขดมากว่า 10 ปี โดยไม่มีการระบุชื่อวิทยาศาสตร์และเป็นที่สงสัยกันว่าน่าจะเป็นพืชชนิดใหม่ นำไปสู่การตรวจสอบโดยละเอียดเทียบกับข้อมูลของพืชสกุลนี้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจึงทำให้ทีมนักวิจัยสามารถยืนยันได้ว่าเจ้า “Stephania kaweesakii Jenjitt. & Ruchis.” นี้เป็นพืชชนิดใหม่จริงๆ โดยชื่อวิทยาศาสตร์ คำว่า “kaweesakii” นั้นตั้งให้เป็นเกียรติแก่ คุณกวีศักดิ์ กีรติเกียรติ […]
ไม้โขดฟอร์มสวยยังคงมาแรง ซึ่งหนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น บัวบกโขด หรือบัวบกหัว เจ้าก้อนกลมๆ ที่มีรูปทรงน่ารักแปลกตา ตกแต่งบ้านก็ได้ วางบนโต๊ะทำงานก็สวยดี
สำหรับการดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องน้ำนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การทำความสะอาด แต่บางครั้งยังต้องจัดการกับปัญหาการ รั่วซึม เมื่อพบว่ามีน้ำหยดหรือรั่วซึมออกจากก๊อกน้ำ ฝักบัว และสายฉีดชำระ เราควรรีบหาสาเหตุแล้วจัดการแก้ไขโดยด่วน เพราะการปล่อยให้น้ำรั่วซึมตลอดเวลา ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเงินในกระเป๋าที่เราต้องจ่ายเงินค่าน้ำประปาแพง ๆ เเน่นอน ก๊อกน้ำรั่วซึม ซ่อมเองได้ง่ายๆ เมื่อก๊อกอ่างล้างหน้ารั่วซึม เมื่อพบว่าก๊อกน้ำบริเวณอ่างล้างหน้ารั่วซึม มีน้ำไหล หรือหยดออกจากหัวก๊อกตลอดเวลา จนแอบหวั่นใจกลัวจะเปลืองน้ำไปโดยใช่เหตุ ความผิดปกติดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุนอต หรือสกรูยึดหัวก๊อกหลวม แหวนยางกันซึม (O ring ) ขาด หรือเปื่อย การแก้ไข กรณีที่มีน้ำไหลบริเวณมือหมุน หรือหัวก๊อก เบื้องต้นให้ใช้ไขควงขันนอตที่ยึดหัวก๊อก (ภาพประกอบ1) ให้แน่น ถ้ายังรั่วซึมอยู่อีก ให้ถอดตัวก๊อกออกมา เพื่อตรวจดูสภาพภายในของระบบวาล์วว่ามีการสึกหรอหรือไม่ ทั้งนี้การรั่วซึมอาจเป็นเพราะแหวนยางกันซึม หรือ O ring ซึ่งอยู่ตรงกลางของตัววาล์วฉีกขาด หรือแผ่นยางควบคุมการเปิด-ปิดน้ำที่อยู่ส่วนปลายของวาล์วเสื่อมสภาพ หากพบว่ามีการชำรุดบริเวณจุดใดก็ให้เปลี่ยนใหม่ โดยหาซื้ออะไหล่ได้ตามร้านขายสุขภัณฑ์ทั่วไป เทคนิคการเปลี่ยนแหวนยาง อันดับแรกให้ปิดวาล์วส่งน้ำ หรือ Stop Valve ก่อน (น้ำจะได้ไม่ไหลเลอะเทอะ) จากนั้นจึงใช้คีม หรือประแจไขตัวก๊อกออกมา เพื่อเปลี่ยนแหวนยาง O […]
hansgrohe นำความสนุกและความปลอดภัยมาสู่ห้องน้ำด้วยชุดผลิตภัณฑ์ Croma E ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ครบวงจรสำหรับห้องน้ำ ชุดผลิตภัณฑ์ Croma E
มาเตรียม ปลูกบัว รับฤดูร้อนกัน ช่วงใกล้ฤดูร้อนอย่างนี้ ไม้ดอกหลายชนิดเริ่มกลับมามีสีสันกันอีกครั้ง โดยเฉพาะบัวที่มักจะทรุดโทรมในช่วงหน้าแล้ง